นโยบาย และเอกสารดาวน์โหลด

ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแล กิจการและเชื่อมั่นว่าระบบและการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความมั่นคงและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน

จากเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายและการกำกับดูแลกิจการ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหลักการสำคัญในเรื่องสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เพื่อเป็นแนวทาง การบริหารจัดการธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ บนแนวทางของการดำเนินธุรกิจที่ยึดมั่นในความถูกต้องและโปร่งใส โดยนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ได้เปิดเผยไว้ที่ https://hmpro-th.listedcompany.com/policy_document.html

ทั้งนี้นโยบายดังกล่าว คณะกรรมการได้ทบทวนและปรับปรุงผ่านคณะกรรมการกลยุทธ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้มีความครบถ้วน ชัดเจน และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Code) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางที่จะมีการปรับปรุงใหม่ และหลักเกณฑ์ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ตลอดจนหลักเกณฑ์สากลระดับภูมิภาคเช่น ASEAN CG Scorecard

ตลอดปี 2566 บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ยกเว้นเรื่องต่อไปนี้

  1. ประธานกรรมการไม่ได้เป็นกรรมการอิสระ เนื่องจากธุรกิจของ บริษัทฯ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในธุรกิจที่ยาวนาน อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของคณะกรรมการตั้งอยู่บนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไม่ได้เป็นกรรมการอิสระ อย่างไรก็ตามสมาชิกคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนประกอบด้วยกรรมการอิสระเป็นสมาชิก ทั้งนี้การบริหารของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนตั้งอยู่บนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. บริษัทฯ มีกรรมการอิสระที่มีวาระการดำรงตำแหน่งเกิน 9 ปี 1 ท่าน คือ นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ เนื่องจากกรรมการอิสระท่านนี้เป็นผู้มีความรู้และความสามารถด้านการกำกับดูแลกิจการ การตรวจสอบ และธุรกิจค้าปลีก โดยที่ผ่านมาได้ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ ทั้งในฐานะของกรรมการอิสระ และแนวทางในการตรวจสอบของกรรมการตรวจสอบ

สำหรับรายละเอียดการดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเป็นดังนี้

ชื่อ – นามสกุล วันที่เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ จำนวนปี
(วันที่เข้ารับตำแหน่งถึง 31 ธ.ค. 2565)
1. นาย พรวุฒิ สารสิน 1 ต.ค. 2558 8 ปี 3 เดือน
2. นาย บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ 1 ต.ค. 2557 9 ปี 3 เดือน
3. นายระเฑียร ศรีมงคล 1 พ.ค. 2566 8 เดือน
4. ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย 1 พ.ค. 2566 8 เดือน

หมายเหตุ:

  • ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2566 นายทวีวัฒน์ ตติยมณีกุล และ นาย ชนินทร์ รุนสำ ราญ ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ
  • ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป นายระเฑียร ศรีมงคล และ ผศ.ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ได้รับการแต่งตั้งแทนกรรมการที่ลาออก

คณะกรรมการบริษัทตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายในการใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการเป็นรายบุคคล สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในกิจการต่างๆ ที่สำคัญ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในที่ประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการรับหุ้นซื้อคืน สิทธิที่จะได้รับการอนุมัติจ่ายเงินปันผลอย่างเป็นธรรม และสิทธิในการได้รับข้อมูลของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ ทันเวลา และเท่าเทียมกัน โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ส่งเสริมสิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้

  • เปิดเผยโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจว่าบริษัทฯ มีโครงสร้างการดำเนินงานที่มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยไม่มีการถือหุ้นที่ซับซ้อน ไม่มีผู้ถือหุ้นร่วม และไม่มีผู้ถือหุ้นไขว้ รวมถึงไม่มีการถือหุ้นแบบปิรามิดในกลุ่มของบริษัทฯ
  • เผยแพร่สารสนเทศ รายละเอียดการใช้สิทธิในเรื่องต่างๆ ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ เว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกันในการรับรู้ข่าวสาร ระยะเวลาในการใช้สิทธิ และความสะดวกในการใช้สิทธิ โดยจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าถึงสารสนเทศของบริษัทฯ หรือปิดกั้นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน
  • ส่งเสริมสิทธิของผู้ถือหุ้นในการจัดประชุมอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ ปี 2566 เมื่อ วันที่ 7 เมษายน 2566 โดยเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) สถานที่ถ่ายทอดคือ ห้องประชุม อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ชั้น 4 เลขที่ 1 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้บริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระแทนการเข้าประชุมด้วยตนเอง และจัดเตรียมคู่มือการใช้งานระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์สําหรับการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนและรับรู้ข้อมูลการประชุมอย่างทันท่วงที โดยมีรายละเอียดดังนี้

ก่อนการประชุม

  • ให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการเสนอวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการได้ล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 13 มกราคม 2566 รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามเกี่ยวกับวาระการประชุมถึง เลขานุการบริษัทได้ล่วงหน้าก่อนวันประชุม โดยเผยแพร่รายละเอียดและหลักเกณฑ์ทั้งหมดไว้ที่เว็บไซต์ของบริษัทฯ รวม ถึงเผยแพร่การให้สิทธินี้ผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยทั้งนี้การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ ปี 2566 ไม่มีผู้ถือหุ้น รายใดเสนอวาระการประชุม หรือเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการ พิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ
  • เปิดเผยวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ ปี 2566 ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า 45 วัน เพื่อสามารถเตรียมตัวเข้าร่วมประชุมได้ โดยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นวันที่ คณะกรรมการบริษัทมีมติกำหนดวันประชุม
  • เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2566 ล่วงหน้าก่อนวันประชุม 30 วัน และเริ่มจัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2566 ล่วงหน้าก่อนวันประชุม 14 วัน และเปิดให้ผู้ถือหุ้นลงทะเบียน (Pre-Register) ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2566 โดยได้แนบคู่มือการใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (DAP e-Shareholder Meeting) ในเอกสารแนบของหนังสือเชิญประชุมฯ
  • อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้น ทั้งผู้ถือหุ้นรายย่อย นิติบุคคล ตลอดจนนักลงทุนสถาบันที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ โดยได้จัดทำแบบหนังสือมอบฉันทะ แบบ ก. แบบ ข. และแบบ ค. พร้อมกับหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยระบุชื่อและประวัติของกรรมการอิสระที่ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกเป็นผู้รับมอบฉันทะได้ โดยการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 บริษัทฯ ได้ระบุให้ นาย ชนินทร์ รุนสำราญ เป็นกรรมการอิสระผู้รับมอบฉันทะ

วันประชุม

  • ก่อนเริ่มการประชุม ประธานในที่ประชุมจะชี้แจงแก่ผู้ถือหุ้นให้ทราบถึงสิทธิตามข้อบังคับของบริษัทฯ การดำเนินการประชุม วิธีการใช้สิทธิลงคะแนน รวมทั้งให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการตั้งคำถามและแสดงความเห็นในที่ประชุมอย่างเท่าเทียมกัน
  • บริษัทฯ ได้สาธิตวิธีการใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ทราบถึงวิธีการลงคะแนน และวิธีการส่งคำถามก่อนเวลาเริ่มประชุม โดยกำหนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม เป็นไปตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง
  • บริษัทฯ ใช้ระบบการคำนวณคะแนนเสียงของ DAP e-Shareholder Meeting และแสดงผลสรุปของคะแนนเสียงในทุกวาระอย่างชัดเจน
  • จัดให้มีที่ปรึกษากฎหมายที่เป็นอิสระจากภายนอก (Inspector) เพื่อทำหน้าที่ในการดูแลให้การประชุมเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ
  • สนับสนุนให้มีตัวแทนจากผู้ถือหุ้นในที่ประชุมร่วมเป็นพยานในการนับคะแนนเสียงในทุกวาระ
  • ประธานในที่ประชุมจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเพียงพอและดำเนินการประชุมอย่างเหมาะสมและโปร่งใสตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่เคยดำเนินการแจกเอกสารที่มีข้อมูลสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างกะทันหัน รวมถึงไม่มีการเพิ่มวาระพิจารณาอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือเชิญประชุม ซึ่งอาจไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้มาเข้าร่วมประชุม
  • ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมประชุมภายหลังจากเริ่มการประชุมไปแล้ว โดยมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เฉพาะวาระที่ที่ประชุมยังไม่ได้พิจารณาลงมติ
  • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความคิดเห็นและซักถามอย่างเต็มที่ โดยมีประธานในที่ประชุม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้สอบบัญชี เข้าร่วม ประชุมเพื่อตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้น โดยมีทั้งผู้ถือหุ้นที่ส่งคำถามผ่านระบบโดยการส่งข้อความ และสอบถามด้วยตนเอง

หลังการประชุม

  • นำส่งมติที่ประชุมพร้อมรายละเอียดจำนวนคะแนนเสียงในแต่ละวาระอย่างชัดเจนแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบนเว็บไซต์ ของบริษัทฯ ภายในวันประชุมเพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมรับทราบในทันที
  • ผู้ถือหุ้นสามารถรับชมเทปบันทึกภาพการประชุมผู้ถือหุ้นผ่านเว็บคาสต์ (Webcast) บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  • จัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเผยแพร่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใน 14 วันนับจากวันประชุม และนำส่งสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในเวลาที่กำ หนด

บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายย่อย นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  1. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำสมอผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ จัดให้มีช่องทางที่ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อขอรับข้อมูลหรือสอบถามได้โดยตรงผ่านทาง Email ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการอิสระ และหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
  2. มีระเบียบบังคับใช้ภายในบริษัทฯ เรื่องการใช้ข้อมูล ภายในอย่างชัดเจน สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์ และมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและเสมอภาคต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกราย ดังนี้
    • แจ้งกฎเกณฑ์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลภายในให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานได้รับทราบ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ากฎเกณฑ์และนโยบายดังกล่าวเป็นที่รับทราบและปฏิบัติตาม
    • ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงเวลาก่อนเปิดเผยงบการเงินต่อสาธารณชน 1 เดือน โดยสายงานเลขานุการบริษัทจะแจ้งให้กรรมการและผู้บริหารได้ทราบช่วงเวลาการห้ามซื้อขาย (Silent Period) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีผู้บริหารซื้อขายหุ้น
    • เปิดเผยการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารในรายงานประจำปีอย่างครบถ้วนตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้มีการติดตามผลการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมธุรกิจ เรื่องการใช้ข้อมูลภายในโดยกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารส่งสำเนารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ให้สายงานเลขานุการบริษัทเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทในทุกเดือน และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ โดยสายงานเลขานุการบริษัทจะเป็นผู้รวบรวมเพื่อรายงานที่ประชุมคณะกรรมการ
    • บริษัทได้มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำรายการเกี่ยวโยงและการทำรายการระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์และ ก.ล.ต โดยกำหนดเรื่องที่ต้องรายงานคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นไว้อย่างชัดเจน รวมถึงการระมัดระวัง ไม่ให้มีการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันโดยฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต

นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายโดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยกำหนดเป็นนโยบายและบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสียไว้อย่างชัดเจนใน “คู่มือจริยธรรมธุรกิจ” ซึ่งมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

ผู้ถือหุ้น : ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความรอบคอบและเป็นธรรม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นโดยรวม นำเสนอรายงานผลประกอบการ ฐานะข้อมูลทางการเงิน และรายงานอื่นๆ โดยสม่ำเสมอ และครบถ้วนตามความเป็นจริงและทันเหตุการณ์ โดยแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบอย่างเท่าเทียมกันถึงแนวโน้มของบริษัทฯ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ และมีเหตุผลอย่างเพียงพอ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่นโดยใช้ข้อมูลใดๆ ของบริษัทฯ ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือดําเนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับองค์กร
พนักงาน : ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเป็นธรรม ทั้งในด้านโอกาส ผลตอบแทน การแต่งตั้ง โยกย้าย ตลอดจนการพัฒนา ศักยภาพ ให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน รวมถึง เปิดโอกาสให้พนักงานร้องเรียนในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามระบบและกระบวนการที่กำหนด
ลูกค้า : ส่งมอบสินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพ ตรงตามความคาดหมายของลูกค้าในราคาที่เป็นธรรม ให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ของลูกค้า ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงติดต่อกับลูกค้าด้วยความสุภาพ มีประสิทธิภาพ จัดให้มีระบบและกระบวนการที่ให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการ รวมทั้งความรวดเร็วในการตอบสนองหรือส่งมอบ ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้สินค้าและบริการของบริษัทฯ
คู่ค้า : ปฏิบัติกับคู่ค้าด้วยความเสมอภาคและคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน พัฒนาและรักษาความสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับ คู่ค้า และสร้างความเชื่อถือซึ่งกันและกัน โดยบริษัทฯ ยึดถือการปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมีการกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนไม่เรียกหรือไม่รับหรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้า ส่งเสริมให้คู่ค้าร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และประกอบธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงมีกระบวนการสรรหาอย่างมีความรับผิดชอบ (Ethical Sourcing) และเคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights)
เจ้าหนี้ : ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด บริหารเงินกู้ยืมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน ไม่นำเงินไปใช้ในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ ควบคุมให้มีการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยให้กับ เจ้าหนี้ตามกำหนดเวลา และปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืมเงินตามข้อตกลงอย่างครบถ้วน กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใดได้ ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา
คู่แข่งทางการค้า : ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย
การตลาด และการโฆษณา: เปิดเผยข้อมูลสินค้าและบริการที่ถูกต้องอย่างครบถ้วนแก่ผู้บริโภคในทุกช่องทางการตลาดของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจบนประโยชน์ของสินค้าและบริการของบริษัทฯ รวมถึงไม่กล่าวอ้างคุณสมบัติของสินค้าและบริการเกินความจริง ทั้งคุณสมบัติหรือผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่กล่าวพาดพิงข้อมูลของสินค้าและบริการของคู่แข่งหรือผู้ให้บริการอื่นในเชิงลบ พิจารณาความเหมาะสมของโฆษณาต่อกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย คำนึงถึงความเท่าเทียมกันทางเพศ และพิจารณาครอบคลุมประเด็นด้านวัฒนธรรมทางสังคมและศีลธรรมอันดี
สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม : ดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นที่หน่วยงานของบริษัทฯ ตั้งอยู่ โดยบริษัทฯ จะยึดมั่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อส่งเสริมนโยบายดังกล่าว บริษัทฯ จะดำเนินกิจกรรมที่มีส่วน สร้างสรรค์สังคมอย่างสม่ำเสมอ และจะดำเนินการปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานทุกระดับให้มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ดำรงอยู่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีตลอดไป

บริษัทฯ ได้ยึดมั่นที่จะบริหารการจัดการด้านการรักษาข้อมูล ส่วนบุคคลซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และ ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดรัดกุมทั้งด้านเอกสารและระบบ บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร เพื่อมีหน้าที่ดูแลและจัดเตรียมแผนงานต่างๆ โดยวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงาน กำหนดนโยบายและวิธีปฎิบัติต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ปฏิบัติการเพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ให้ปลอดภัย มีเสถียรภาพ และโปร่งใส เพื่อรองรับการบังคับ ใช้ของ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่จะมีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ. 2565 บริษัทได้มีการดำเนินการ ดังนี้

  1. บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร เพื่อมีหน้าที่ดูแลและจัดเตรียมแผนงานต่าง ๆ โดยวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงาน กำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

    ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง
    1. นาย วีรพันธ์ อังสุมาลี ประธานคณะกรรมการ
    2. นางสาว สุดาภา ชะมด กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    3. นางสาว วรรณี จันทามงคล กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    4. นางสาว เสาวณีย์ สิราริยกุล กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    5. นาย นิทัศน์ อรุณทิพย์ไพฑูรย์ กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    6. นาย อายุรทัศน์ ไชยอนันต์ กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    7. นาง อภิรดี ทวีลาภ กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    8. นางสุรางคณา ฉายประสาท กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    9. นางกมลทิพย์ อมรอริยะกูล กรรมการและ จนท. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

    ทั้งนี้ นายวีรพันธ์ อังสุมาลี ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรและเป็นตัวแทนคณะกรรมการบริษัทเพื่อบริหารการจัดการด้านการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

  2. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เป็นมาตรฐานในการทำงานของบริษัทฯ และสอดคล้องกับข้อกฎหมาย
  3. การกำหนดมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ เงื่อนไข การแจ้งการขอความยินยอม การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูลหรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมกำกับดูแล ให้คำปรึกษา สนับสนุน ส่งเสริม และทบทวนนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
  4. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้แต่งตั้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประเมินความเสี่ยง การจัดการคำร้องและข้อร้องเรียนต่างๆ
  5. 5. บริษัทฯ ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานสูง ทั้งในด้านเทคโนโลยีและกระบวนการเพื่อป้องกันการโจรกรรม ข้อมูลที่เป็นความลับ และพัฒนาบุคลากรทุกระดับ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การติดตั้ง Firewall และซอฟต์แวร์ตรวจจับการบุกรุก การใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) การติดตั้งซอฟต์แวร์ Scan Virus เพื่อป้องกันไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำหนดสิทธิ์การใช้งานตามระดับ (Level of Authorization) โดยเปิดให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ได้ที่นโยบายความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลบนเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์แอปพลิเคชันของบริษัทฯ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้ให้การอบรมเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจ แก่พนักงานเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วน บุคคล รวมถึงมีการนำ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการทำ งานของ พนักงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ของนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลที่เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ http://hmpro-th.listedcompany.com/policy_document.html

สถิติความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

2564 2565 2566
จำนวนข้อร้องเรียนเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล 0 0 0
จำนวนข้อร้องเรียนเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานกำกับดูแล 0 0 0

การดำเนินการหลังการเกิดผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ มีขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อจัดการกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อข้อมูล ฝ่ายตรวจสอบภายในและทีมงานที่ดูแลเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลจะมีการดำเนินการการตรวจสอบสาเหตุ และการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล และมีการแจ้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Committee) และรายงานต่อเนื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลในอนาคต

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกลยุทธ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนทำงานร่วมกับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Committee) ขององค์กรดูแลและจัดเตรียมแผนงานต่างๆ โดยวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานต่างๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรและพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ นอกจากนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการจัดเก็บรักษาความลับของข้อมูลต่างๆ เนื่องด้วยบริษัทฯ มีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย อาทิ ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้น โดยได้กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและระบบสารสนเทศตามอำนาจและความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละระดับ และมีการจัดเตรียมมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ อาทิ การมีระบบสำรองข้อมูล นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้

  1. บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ NNT Security Control Guide ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ Center for Internet Security (CIS), North American Electric Reliability Corporation (NERC), National Institute of Standards and Technology (NIST) และ PCI Security Standards Council
  2. บริษัทฯ มีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการรักษาความลับ การรักษาความน่าเชื่อถือ และความพร้อมใช้ของข้อมูล รวมทั้งป้องการมิให้มีการนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ หรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยได้มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลตามอำนาจและความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละระดับ
  3. บริษัทฯ ได้พิจารณาความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัด ให้มี Help Desk และ Hotline สำหรับรับแจ้งปัญหา การอบรมวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและการรายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้รับผิดชอบระบบ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
  4. บริษัทฯ จัดให้มีนโยบายการประกันภัยด้านไซเบอร์ เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ ตลอดจนมีมาตรการป้องกันและจำกัดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธรุกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น การซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ หรือการจัดเก็บข้อมูลในเครือข่ายขององค์กร
  5. บริษัทฯ ได้พิจารณาการจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดหลักเกณฑ์และปัจจัยในการกำหนดลำดับความสำคัญของแผนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ความเหมาะสมสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ ความเร่งด่วน ความสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ เป็นต้น

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสื่อสารด้านการตลาดอย่างมีความรับผิดชอบและเคารพในสิทธิข้อมูลของลูกค้า โดยเฉพาะกิจกรรมประชาสัมพันธ์หรือการสื่อสารผ่านทางระบบสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยบริษัทฯ ให้ความเคารพต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและให้ทางเลือกแก่ลูกค้าในการปฏิเสธการรับข่าวสารและข้อมูล (Unsubscribe) นอกจากนี้บริษัทฯ ยังดูแลเพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลเป็นไปตามข้อเท็จจริง

มาตรการป้องกันและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ มีดังนี้

  • จัดให้มีการคัดกรองและกำหนดสิทธิเฉพาะผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึง ดำเนินการแจกจ่ายข้อมูลต่างๆ และการสำรองข้อมูล
  • กำหนดรอบการตรวจสอบการทำงานของระบบ พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ด้านระบบคอยควบคุมการทำงานและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา รวมถึงพัฒนาระบบ Hardware และ Software อย่างต่อเนื่อง ให้มีความทันสมัยเพื่อรับมือกับอาชญากรรมทางไซเบอร์รูปแบบใหม่และป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ไม่เกี่ยวข้อง
  • ซ้อมแผนการรับมือภัยคุกคามการโจมตีด้านไซเบอร์ (Cyber Security Drill) และกำหนดให้มีแผนฉุกเฉินกรณีมีเหตุการณ์ที่ทำให้สถานะการทำงานของระบบหยุดลง (Disaster Recovery Plan: DRP) โดยมีการซ้อมใช้แผนเป็นประจำทุกปีเพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ลดทอนความเสียหายของระบบสารสนเทศของบริษัทฯ และเพื่อให้ธุรกิจของบริษัทฯ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
  • บริษัทฯ มีการจัดทำและทดสอบแผนรองรับในกรณีที่เกิดสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan:BCP) โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Cyber Security Risk) อย่างสม่ำเสมอซึ่งมีการทดสอบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยมีขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับพนักงานในกรณีพบเหตุการณ์ผิดปกติตามลำดับความรุนแรง (Level of Security) ตลอดจนระบบแจ้งเตือนและช่องทางการสื่อสารที่รัดกุม
  • ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ในการป้องกันการคุกคาม (Firewall) และการเฝ้าระวังพฤติกรรมภัยคุกคามทั้งในส่วนของสำนักงานใหญ่และสาขา โดยมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อติดตามและเฝ้าระวังภัยคุกคามใหม่ๆ พร้อมทั้งรายงานการโจมตีและผลการแก้ไข เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำมาตรการป้องกันต่อไป
  • ทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Testing) และการประเมินหาช่องโหว่ (Vulnerability Assessment) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่ใช้งานอยู่สามารถป้องกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดทำระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐานระดับสากล เช่น ISO/IEC 27001 (Information Security) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management System: ISMS)
  • สร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคาม วิธีการป้องกัน และกฎหมายด้านไอทีที่เกี่ยวข้องให้พนักงานอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมช่องทางการสื่อสารภายในของบริษัทฯ และจัดให้มีการฝึกอบรมผ่านระบบ E-Learning เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งมีการวัดผลการดำเนินงานเพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพของโปรแกรมต่อไป รวมถึงการอบรมให้พนักงานทุกระดับ
  • บริษัทฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปลูกฝังให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของระบบ Cyber Security โดยมีการจัดทำความรู้และความเข้าใจต่างๆ ผ่าน Email ICT News ของบริษัทฯ ให้แก่พนักงานทุกคนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน

สถิติความปลอดภัยและการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

2564 2565 2566
จำนวนข้อมูลที่มีการรั่วไหล 0 0 0
จำนวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าที่มีการรั่วไหล 0 0 0
จำนวนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ข้อมูลรั่วไหล 0 0 0
จำนวนเงินที่ถูกปรับจากกรณีที่ข้อมูลรั่วไหล 0 บาท 0 บาท 0 บาท

ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นโยบายความปลอดภัยของข้อมูลที่เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ http://hmpro-th.listedcompany.com/policy_document.html

บริษัทฯ ได้กำหนดให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมาย หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายทางการค้า และทรัพย์สินทางปัญญาด้านอื่นที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดนโยบายในเรื่องต่างๆ ดังนี้ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดจะต้องผ่านการตรวจสอบ และลงโปรแกรมโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น การกำหนดให้พนักงานตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานว่าไม่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เป็นต้น รวมทั้งได้ส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อกำหนดของกฎหมาย และความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

นอกจากการกำหนดนโยบายป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนของบริษัทฯ ได้มีการพัฒนาสินค้า และมีสินค้าที่เป็นแบรนด์โฮมโปร โดยบริษัทฯ มีนโยบายในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นทำการละเมิดได้ โดยบริษัทฯ จะดำเนินการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้าสิทธิบัตร เป็นต้น รวมทั้งการดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ เช่นกัน

การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงกฎหมายภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน โดยมุ่งยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติให้สูงกว่าข้อกำหนดตามกฎหมาย

บริษัทฯ เคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชนและสนับสนุนหลักการและเป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (Declaration of Fundamental Principles and Rights at Work) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) เป็นต้น บริษัทฯ จึงดูแลไม่ให้ธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิด สิทธิมนุษยชน เช่น ไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงาน (Forced Labor) ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก (Child Labor) และมีการกำหนดชั่วโมงการทำงานตามกฎหมายแรงงาน ให้ความเคารพนับถือและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วยความเป็นธรรมบนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แบ่งแยกถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ เพศ อายุ สีผิว ศาสนา สภาพร่างกาย ฐานะ ชาติตระกูล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวังการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนภายในบริษัทฯ และส่งเสริมให้บริษัทย่อย ผู้ร่วมทุน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล คุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยพิจารณาชดเชยค่าเสียหายให้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส ทันเวลา และเท่าเทียมกันแก่นักลงทุน และ ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้งในส่วนของงบการเงินและข้อมูลสำคัญอื่นที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ผ่านทางการ เผยแพร่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศมีข้อมูลที่เชื่อได้ และเพียงพอต่อการตัดสินใจอย่างสม่ำเสมอ

การประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

บริษัทฯ ได้จัดการบรรยายสำหรับนักวิเคราะห์และนักลงทุน รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่สนใจสำหรับการเปิดเผยผลประกอบการและจัดทำเอกสารข่าว (Investor Release) เป็นรายไตรมาสแก่นักลงทุนอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง และตามเหตุการณ์กรณีมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ

กิจกรรมพบนักลงทุนและการเยี่ยมชมกิจการ

บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศเข้าพบผู้บริหารและเยี่ยมชมกิจการ อีกทั้งยังมีการจัดประชุมในรูปแบบของ Physical Meeting และ Web Conference เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงข้อมูลผลการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ แนวทางการเติบโต รวมถึงสรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีและตอบข้อซักถาม

โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้:

  1. การเดินทางพบปะนักลงทุนหรือ Roadshow จำนวน 9 ครั้ง แบ่งเป็น
    • การเดินทางพบปะนักลงทุนต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ประกอบไปด้วย ประเทศสิงคโปร์ 3 ครั้ง และประเทศฮ่องกง 1 ครั้ง
    • การเดินทางพบปะนักลงทุนในประเทศรวม 5 ครั้ง ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ โดยพบนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนที่เป็นสถาบันทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ
  2. การจัดให้นักวิเคราะห์ นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าพบผู้บริหาร โดยผ่านการนัดหมายเพื่อเยี่ยมชมบริษัทฯ และสาขา (Store Visit) รวม 36 ครั้ง
  3. การพบปะนักลงทุนแบบการประชุมแบบออนไลน์ (Virtual) ผ่าน Virtual Conference Call Event ซึ่งจัดโดยบริษัทหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 47 ครั้ง แบ่งเป็น
    • International Virtual Conference รวม 6 ครั้ง
    • Local Virtual Conference รวม 4 ครั้ง กับนักลงทุนสถาบันและกองทุนในประเทศ
    • One on One Virtual Meeting กับนักลงทุนต่างชาติ รวม 37 ครั้ง
  4. การจัดกิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน (Opportunity Day) แบบออนไลน์ (Virtual) รวม 4 ครั้ง ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นและสื่อมวลชนเข้าร่วม โดยจัดงานในวันที่ 13 มีนาคม 8 พฤษภาคม 7 สิงหาคม และ 9 พฤศจิกายน 2566
  5. การประชุมกับนักลงทุน (Analyst Meeting) และนักวิเคราะห์ในรูปแบบ Physical Meeting จำนวน 4 ครั้ง และการจัดประชุมกับนักลงทุนต่างชาติหลังการประกาศผลประกอบการ (Post-result call) ในรูปแบบ Virtual Meeting จำนวน 2 ครั้ง

งานแถลงข่าวและความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้จัดให้มีการแถลงข่าว 1 ครั้ง เกี่ยวกับรายงานผลประกอบการประจำปี 2565 และทิศทางการดำเนิน ธุรกิจในปี 2566 และได้มีการจัดทำจดหมายข่าวที่เกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทฯ จำนวน 4 ฉบับ รวมทั้งมีการแจ้งข่าว เกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำ เนินธุรกิจและกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ตลอดทั้งปี

คณะกรรมการบริษัทส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กรรมการเข้าอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้เลขานุการบริษัท ประสานงานกับกรรมการเพื่อแจ้งหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ตามตารางการฝึกอบรมเป็นระยะ การฝึกอบรม DAP หรือ DCP ถือเป็นข้อบังคับ โดยในปี 2566 มีกรรมการจำนวน 1 ท่าน เข้ารับการอบรมในหลักสูตร Director Leadership Certification Program (DLCP 9/2566) ได้แก่ นางสุวรรณา พุทธประสาท

คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการบริหารจะมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน และอาจมีการจัดการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจำเป็น รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทตามวาระประชุมที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม โดยการประชุมแต่ละครั้งรวมถึงการลงมติในที่ประชุม บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายจำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำไว้ โดยจะต้องมีคณะกรรมการบริษัทเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 จึงจะครบองค์ประชุม (66.67%) ซึ่งจะกำหนดวันเวลาการประชุมไว้ล่วงหน้าตลอดทั้งปีทั้งกรรมการและกรรมการชุดย่อย และจะมีการจัดส่งหนังสือเชิญประชุม ระเบียบวาระการประชุม และเอกสารประกอบการประชุมก่อนการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการ เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาการศึกษามาก่อนล่วงหน้า

ในระหว่างการประชุมประธานในที่ประชุมได้มีการจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอในการอภิปรายประเด็นที่สำคัญ อีกทั้งสนับสนุน ให้กรรมการทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์และเป็นอิสระ มีการใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ เลขานุการ บริษัทจะเข้าร่วมประชุมและจดบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท กรรมการที่อาจมีส่วนได้เสียจะไม่อยู่ในที่ประชุม และงดออกเสียงในวาระนั้น เอกสารประกอบการประชุม รายงานการประชุม ตลอดจนข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีการเก็บไว้อย่างครบถ้วนในที่ปลอดภัย โดยมีการจัดเก็บในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับการจัดเก็บเอกสารต้นฉบับ

นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารประชุมกันเองตามความเหมาะสม โดยไม่มีกรรมการที่เป็นผู้บริหารเข้าร่วมในการประชุมเพื่ออภิปรายประเด็นหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2566 ได้มีการประชุมของกรรมการที่ไม่มีกรรมการที่เป็นผู้บริหารเข้าร่วมจำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 โดยประชุมเพื่อพิจารณาภาพรวมสำหรับการบริหารองค์กรในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญที่ควรต้องปรับปรุง และมีผลกระทบต่อแนวโน้มธุรกิจ และการพิจารณาแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการ ผู้จัดการ

คณะกรรมการบริษัทมีการพิจารณาหรือรับทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่สำคัญ ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับข้อมูลอุตสาหกรรม ตลอดจนข่าวสารด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะกรรมการสอดคล้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นปัจจุบัน

คณะกรรมการบริษัทดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการติดตามและประเมินฐานะทางการเงินของบริษัทฯ อย่างใกล้ชิด โดยถือเป็นวาระจำ เป็นที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทในทุกๆ เดือน และมีการรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ โดยคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการจะร่วมกันหาทางแก้ไขโดยเร็วหากเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ ทั้งนี้แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น

ในปี 2566 บริษัทได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งสิ้น 12 ครั้ง และการประชุมคณะกรรมการชุดย่อย ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการบริหาร 12 ครั้ง การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ 12 ครั้ง การประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 3 ครั้ง และการประชุมกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 1 ครั้ง

บริษัทฯ มีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกคน โดยมีการประเมินผลงานแบบแยกตามลักษณะงานที่ปฏิบัติปีละ 2 ครั้ง เพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การประเมินค่าตอบแทนของพนักงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลภาพลักษณ์ของบริษัทฯ กล่าวคือ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายบริหารความพึงพอใจของลูกค้า และฝ่ายสื่อสารองค์กร จะมีการนำผลประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าต่อแบรนด์ของบริษัทฯ ตลอดจนสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านประชาสัมพันธ์ต่อยอดขายมาเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณสวัสดิการที่นอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือน เป็นต้น รวมถึงการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเหมาะสม ทั้งในด้านโอกาส ผลตอบแทนที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้น เช่น โบนัสตามเป้าหมายในการทำงานและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในแต่ละปี และผลตอบแทนระยะยาว เช่น โครงการสะสมหุ้นสำหรับพนักงาน (EJIP) จะทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ สามารถดึงดูดใจ พัฒนาศักยภาพ และรักษาพนักงานผู้มีผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีแรงจูงใจในการทำงานได้ในภาวะตลาดที่มีการแข่งสูง พนักงานจะได้รับการเสนอค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นไปตามแนวทางของตลาดซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของค่าตอบแทน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีการประเมินผลงานโดยใช้หลักการจัดการตามวัตถุประสงค์ (Management by objectives) ข้อคิดเห็น พนักงานรอบด้าน (360 Degree feedback) การปฏิบัติงานเป็นทีม (team-based performance appraisal) การทำงานแบบ Agile และการเรียงลำดับผลการประเมินของพนักงานสองครั้งต่อปี

โดยในการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนบริษัทฯ มีการจ่ายค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด บริษัทฯ มีการกำหนด โครงสร้างเงินเดือนเป็นการกำหนดอัตราการจ่ายเงินเดือนให้กับตำแหน่งงานต่างๆ โดยใช้ระดับงานตามค่างานเป็นพื้นฐาน ลักษณะโครงสร้างเงินเดือนที่ใช้เป็นแบบช่วง (Range Structure) กำหนดเป็นกระบอกเงินเดือนแต่ละระดับงาน มีอัตราต่ำสุด ค่ากลาง และอัตราสูงสุดของแต่ละช่วงเป็นโครงสร้างใช้บริหารเงินเดือนพนักงาน

ในการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนนั้น บริษัทฯ ใช้ข้อมูลจากระดับงานตามค่างานของบริษัทฯ ข้อมูลเงินเดือนจากผลการสำรวจ ค่าจ้างในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรม นโยบายในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทฯ เพื่อพิจารณาเรื่องของ สัดส่วนเงินเดือน และรายได้อื่นให้เหมาะสม และสามารถแข่งขันในตลาดได้ และเพียงพอต่อการดำรงชีพของพนักงานและครอบครัว (Living Wage)

โดยบริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อพนักงานดังนี้

  1. ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ และให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  2. ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อพนักงาน
  3. การแต่งตั้งและโยกย้าย รวมถึงการให้รางวัลและลงโทษพนักงาน กระทำด้วยความสุจริตใจและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของพนักงานนั้น
  4. ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน โดยให้โอกาสอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
  5. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ
  6. รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาชีพของพนักงาน
  7. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
  8. ให้พนักงานร้องเรียนในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามระบบและกระบวนการที่กำหนด
  9. เคารพสิทธิของพนักงานในการรวมกลุ่มโดยเสรี ไม่ปิดกั้นการก่อตั้งสหภาพหรือร่วมในสหภาพแรงงานอื่นของพนักงาน

ตามประกาศคณะกรรมการกำ กับตลาดทุน เรื่องการจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจที่บังคับใช้กับผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจดังนี้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (7) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามการกำกับดูแลที่ดี

บริษัทฯ กำหนดให้มีหน่วยงานกำกับการปฏิบัติงาน โดยมอบหมายให้หน่วยงานกฎหมายรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กิจการภายนอกและหน่วยงานตรวจสอบภายในรับผิดชอบในเรื่องการกำกับกิจการภายใน นอกเหนือจากการมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละเรื่องที่ตนดูแล อาทิ การกำกับเรื่องที่เกี่ยวกับใบอนุญาตต่างๆ การปฏิบัติตามกฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. จะมอบหมายให้หน่วยงานกฎหมายดูแล ส่วนการปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานของสาขาจะอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนงานการปฏิบัติการสาขา และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของส่วนงานต่างๆ ในทุกเรื่องให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน

เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับที่ดี บริษัทฯ มีการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่สอบทานและติดตามผล การปฏิบัติงานให้กับฝ่ายบริหาร โดยปฏิบัติงานด้วยความเป็นอิสระและรายงานผลการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ผู้บริหารสูงสุดของสำนักตรวจสอบภายใน คือ นายอายุรทัศน์ ไชยอนันต์ ผู้จัดการทั่วไปสายงานตรวจสอบภายใน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยคณะกรรมการตรวจสอบ

นอกจากนี้ยังได้มีการเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการตรวจสอบและเพื่อประเมิน ประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านบัญชี ซึ่งจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำ ปี 2566 อนุมัติให้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด โดยนางกิ่งกาญจน์ อัศวรังสฤษฎ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4496 เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และบริษัทย่อยประจำปี 2566 ทั้งนี้ผู้สอบบัญชีมิได้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นสาระสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงมิได้เป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ของบริษัทฯ บริษัทย่อย ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว โดยผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระและมีคุณสมบัติที่ได้รับการยอมรับ รวมถึงเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.

บริษัทฯ มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดกว้าง โปร่งใส และเป็นธรรม โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ห้ามประกอบธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเองหรือบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ดูแลให้บริษัทฯ มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามที่กฎหมายหรือหน่วยงานกำกับดูแลกิจการกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน รายการนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้าทั่วไปตามหลักการที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม เปรียบเสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ โดยผู้ที่มีส่วนได้เสียจะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณารายการที่ตนมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปตามหลักการที่คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต้องผ่านการสอบทานและให้ความเห็นจากคณะกรรมการตรวจสอบ ก่อนนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น

  • การรายงานการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน : กรรมการและผู้บริหารต้องตอบแบบชี้แจงรายการที่เกี่ยวโยงกันในรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม เป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส รอบคอบ และระมัดระวังในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวโยงกันในรอบปี โดยมีเลขานุการบริษัทเป็นผู้จัดส่งแบบชี้แจงรายการและรวบรวมข้อมูล
  • การเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง : มีการรายงานครั้งแรกภายใน 30 วัน นับจากวันที่เข้ารับดำรงตำแหน่งในบริษัทฯ และรายงานข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับกรณีระหว่างปี กรรมการหรือผู้บริหารรวมถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้าทำธุรกรรมใดๆ กับบริษัทฯ และบริษัทย่อย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม กรรมการหรือผู้บริหารมีหน้าที่แจ้งให้บริษัทฯ รับทราบโดยระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของสัญญา ชื่อของคู่สัญญา และส่วนได้เสียของกรรมการหรือผู้บริหารในสัญญาเพื่อความโปร่งใสในการเข้าทำ ธุรกรรมนั้น ซึ่งในปี 2566 ไม่มีกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้เกี่ยวข้องที่มีธุรกรรมการมีส่วนได้เสียกับบริษัทฯ
  • การรายงานการมีส่วนได้เสีย : กรรมการและผู้บริหาร มีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสียของตนเองและของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนดซึ่งเลขานุการบริษัทมีหน้าที่รวบรวมและจัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียให้แก่ประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบทราบภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับรายงาน
  • การเปิดเผยผู้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Strategic Shareholder) : บริษัทฯ มีหน้าที่ในการจัดทำรายงานการกระจายหุ้นซึ่งถือโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือ Free Float โดยผู้ถือหุ้นรายย่อย หมายถึงผู้ถือหุ้นที่มิได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ซึ่งสัดส่วนของการกระจายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยถือเป็นส่วนสำคัญของการมีสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และนักลงทุนที่จะซื้อขายได้อย่างคล่องตัว รวมถึงได้ราคาที่เหมาะสมทำให้เกิดความน่าสนใจที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนใดๆ เกี่ยวกับการกระทำผิดของกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยถือว่าจริยธรรมธุรกิจเป็นกรอบพฤติกรรมและเป็นเครื่องชี้นำ การดำเนินธุรกิจที่ดีให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัทฯ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับในการดำเนินงานที่โปร่งใสของบริษัทฯ ตลอดจนสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยคณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มี “คู่มือจริยธรรมธุรกิจ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

คู่มือจริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ ประกอบด้วยนโยบายและแนวปฏิบัติ 6 เรื่อง ที่สะท้อนถึงค่านิยมในการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือและปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้

  1. หลักการในการดำเนินธุรกิจ
  2. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการรักษาข้อมูลอันเป็นความลับ
  3. ความรับผิดชอบต่อบริษัทฯ และทรัพย์สินของบริษัทฯ
  4. การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  5. การดูแลให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ
  6. การรับข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาลและจริยธรรมธุรกิจ

บริษัทฯ ได้แจกจ่ายคู่มือจริยธรรมธุรกิจให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติ และใช้อ้างอิง โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายและข้อปฏิบัติตามที่กำหนดที่กำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจอย่างเคร่งครัดโดยได้มีการติดตามการปฏิบัติผ่านการประเมินผลงานประจำปีของพนักงานแต่ละคน รวมถึงการพิจารณาวัฒนธรรมองค์กรโดยได้มีการนำจริยธรรมธุรกิจมาพิจารณาด้วยและได้มีการสื่อสารให้พนักงานทุกระดับอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เผยแพร่จริยธรรมธุรกิจบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใต้หัวข้อเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้ที่สนใจได้เข้าดูได้อย่างสะดวกด้วย

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการบริษัทได้ดูแลให้มีการสื่อสารในเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นใจว่ากรรมการและบุคลากรมีการยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว ผ่านการดำเนินการต่างๆ อาทิ บรรจุเรื่องเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคู่มือจริยธรรมธุรกิจ เป็นเรื่องหนึ่งในการปฐมนิเทศให้กับกรรมการและพนักงานทุกคน โดยในปี 2566 ได้จัดปฐมนิเทศให้กับพนักงาน 24 ครั้ง

มาตรการในการลงโทษ

หากพนักงานของบริษัทฯ มีการทำผิดวินัย บริษัทฯ มีมาตรการในการลงโทษดังนี้

  • การตักเตือนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร
  • การลงโทษด้วยการ:
    • ลดค่าจ้างหรือตำแหน่งงาน
    • การให้พักงาน
    • ตัดหรือระงับการจ่ายเงินรางวัลประจำปี
    • การพิจารณาไม่ปรับค่าจ้าง
    • การให้ออก
    • การไล่ออก

บริษัทฯ ได้มีการตรวจสอบและติดตามการประพฤติปฏิบัติของพนักงานตามจริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ โดยในปี 2566 บริษัทฯ ตรวจพบ 0 กรณีการทำผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงของพนักงานหรือมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายด้านภาษี
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
ดาวน์โหลด PDF
หนังสือบริคณห์สนธิ
ดาวน์โหลด PDF
หนังสือรับรอง
ดาวน์โหลด PDF
ข้อบังคับบริษัท
ดาวน์โหลด PDF
หนังสือแจ้งคู่ค้าเรื่องนโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
ดาวน์โหลด PDF
แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายความปลอดภัยของข้อมูล
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายสิทธิมนุษยชน
ดาวน์โหลด PDF
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายสิ่งแวดล้อม
ดาวน์โหลด PDF
กลยุทธ์และการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดาวน์โหลด PDF
แนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายการจัดการพลังงาน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายพลังงานทดแทน
ดาวน์โหลด PDF
การแจ้งประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ของพนักงาน
ดาวน์โหลด PDF
นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและต่อต้านการล่วงละเมิด
ดาวน์โหลด PDF